วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558

ความแตกต่างด้าน “จิตสำนึกสาธารณะ” ระหว่างชาวญี่ปุ่นกับคนไทย



บทเรียนความเกรียน! สอน “จิตสำนึกสาธารณะ” ของชาวญี่ปุ่น



 ...ความเป็นญี่ปุ่นสามารถจำกัดความได้ด้วยตัวอักษร คันจิตัวเดียว คือ 和 หรือ “วะ” ซึ่งหมายถึง ความกลมกลืน เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นเกาะ คนญี่ปุ่นจึงต้องอยู่กันอย่างแออัดในพื้นที่จำกัด และเป็นเหตุให้การ “อยู่ร่วมกัน” เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นจะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและยึดมั่นในพฤติกรรมที่เป็นแบบแผนเดียว กัน พฤติกรรมที่แตกต่างออกไปจะไม่ถูกมองว่า “แนว” “เท่ห์” หรือสะท้อนความเป็นตัวตน แต่จะถูกมองว่าเป็น “เรื่องประหลาด” และชาวญี่ปุ่นจะฟันธงได้ทันทีว่าผู้ที่ประพฤตินอกแบบแผนนั้นคือ “คนนอก” 外人หรือ “ไกจิน” ซึ่งไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ “ชาวต่างชาติ” แต่ยังมีนัยยะถึงการไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมญี่ปุ่น

...ชาวญี่ปุ่นเคร่งครัดในวินัยมากกว่าเพราะถูกจำกัด ด้วยภูมิประเทศที่ถูกล้อมรอบด้วยทะเล หากอยู่ร่วมกันไม่ได้ก็หมดทางหนีรอด แตกต่างจากเมืองไทยที่ "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" คนไทยอยู่กันอย่างสุขสบายมาแต่ไหนแต่ไร ไม่เคยต้องแก่งแย่งทรัพยากรหรืออยู่อย่างแร้นแค้น จนกลายเป็นนิสัย “ทำได้ตามใจคือไทยแท้”

 ...ภาษา ญี่ปุ่น คำว่า “เรียนรู้” 勉強 ใช้อักษรคันจิที่มีความหมายดั้งเดิมตามภาษาจีนว่า “บังคับ” ซึ่งชาวญี่ปุ่นได้อธิบายนัยยะของคำว่าเรียนรู้ว่า ผู้ที่บังคับตนเองทั้งด้านพฤติกรรมและจิตใจได้เท่านั้น จึงเป็นผู้รู้ที่แท้จริง.